วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

การรักษาดุลยภาพ

                                                1. การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
1.  หลังจากออกกำลังกายกลางแดดนาน ๆ  ร่างกายมีกลไกในการรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิอย่างไร
 ( o-Net กุมภาพันธ์  2549 )
    1.  ลดอัตราเมทาบอลิซึม  และหลอดเลือดขยาย
     2.  ลดอัตราเมทาบอลิซึม  และหลอดเลือดหดตัว
     3.  เพิ่มอัตราเมทาบอลิซึม  และหลอดเลือดขยายตัว
     4.  เพิ่มอัตราเมทาบอลลิซึม  และหลอดเลือดหดตัว
 2.  แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างการสังเคราะห์แสง  และการหายใจ  ก.  และ  ข.  อาจเป็นสารใดตามลำดับ  ( o-Net กุมภาพันธ์  2549 )  





                     1.  CO2  , H2O                                                                    2.  CO2 , O2
     3.   O2  , CO2                                                                               4. H2O  , O2
3.  สารใดที่ไม่พบในปัสสาวะของคนปกติ( o-Net กุมภาพันธ์  2549 )
     1.  โปรตีน                                                                     2.  ยูเรีย
     3.  ยูริก                                                                            4.  เกลือโซเดียม
4.  อวัยวะใดที่ไม่ทำหน้าที่ขับเกลือออกจากกร่ากายของปลาทะเลส่วนใหญ่( o-Net กุมภาพันธ์  2549 )
     1.  เหงือก                                                                       2.  ทวารหนัก
     3.  ไต                                                                              4.  ผิวหนัง
5.  คอนแทร็กไทล์แลคิวโอล  ( contractile  vacuole )  ที่พบในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว  ทำหน้าที่ใด( o-Net กุมภาพันธ์  2549 )
     1.  ย่อยอาหาร                                                               2.  กำจัดกากอาหาร
     3.  กำจัดน้ำ                                                                    4.  ข้อ  2  และ  ข้อ  3
6.  ข้อใดกล่าวถึงการรักษาระดับดุลยภาพของน้ำและแร่ธาตุของปลาน้ำจืดได้ถูกต้อง(o-Net กุมภาพันธ์  2550 )
    1.  ไตขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นสูงและปริมาณน้อย
    2.  ไตขับปัสสาวะเจือจางและปริมาณน้อย
    3.  ไตขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นสูงและปริมาณมาก
     4.  ไตขับปัสสาวะเจือจางและมีปริมาณมาก
7.    และ    เป็นกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมของสัตว์ชนิดใด  ตามลำดับ(o-Net  กุมภาพันธ์  2550 )
                                                                   





    1.  ปลาฉลาม  และ  กบ
     2.  นกกางเขน  และ  กิ้งก่า
     3.  หนู  และ  นกเพนกวิน
     4.  เต่า  และ  โลมา


8. ขณะที่สิ่งแวดล้อมมีอุณหภูมิสูงขึ้น ข้อใดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในร่างกายของเรา ( O-net มีนา 51 )

อัตราเมแทบอลิซึม
หลอดเลือดฝอยที่ผิวหนัง
กล้ามเนื้อยึดโคนเส้นขน
สูงขึ้น
ลดลง
 สูงขึ้น
 ลดลง
ขยายตัว
ขยายตัว
หดตัว
หดตัว
คลายตัว
คลายตัว
หดตัว
หดตัว
        
                1.
                2.
                3.
                4.
9. หลังการออกกำลังกายอย่างหนัก เลือดในร่างกายจะมีสภาพอย่างไร ( O-net มีนา 51 )
     1. เลือดมีสภาพเป็นเบส เพราะมี OH- ในเลือดต่ำ
     2. เลือดมีสภาพเป็นเบส เพราะมี OH- ในเลือดสูง
     3. เลือดมีสภาพเป็นกรด  เพราะมี H+ ในเลือดต่ำ
     4.เลือดมีสภาพเป็นกรด  เพราะมี H+ ในเลือดสูง
10. สัตว์ชนิดใดที่ไม่มีกลไกในการรักษาอุณหภูมิในร่างกายให้คงที่ อุณหภูมิในร่างกายจึงแปรผันไปตามอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม ( O-net มีนา 51 )
     1. จระเข้                                                                                         2. นกเพนกวิน                                    
     3. พยูน                                                                                           4. ปลาวาฬ
11. ข้อใดต่อไปนี้อาศัยกระบวนการเอกโซไซโทซิส ( O-net มีนา 51 )
     1. การทำลายเชื้อโรคของเม็ดเลือดขาว                   
     2. การนำอนุภาคขนาดใหญ่เข้าสู่เซลล์ของอะมีบา
     3. การขับเกลือแร่ส่วนเกินออกทางเหงือกของปลาทะเล
     4. การหลั่งเอนไซม์ย่อยอาหารออกมาจากเยื่อบุผิวลำไส้เล็ก
12. ข้อใดแสดงสภาวะของเลือดในคนก่อนและหลังการออกกำลังกายใหม่ๆ ไม่ถูกต้อง     ( O-net กุมภาพันธ์ 52 )
ค่าที่วัด
ก่อนออกกำลังกาย
หลังออกกำลังกาย
1.ค่า pHของเลือด
7.4
7.8
2.ความเข้มข้นของออกซิเจน( หน่วย/ซม3)
30
20
3.ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์( หน่วย/ซม3)
60
65
4.ความเข้มข้นของกรดแลกติก ( หน่วย/ซม3)
15
35

13. โครงสร้างของสิ่งมีชีวิตในข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ได้ทำหน้าที่ป้องกันการสูญเสียน้ำจากร่างกาย( O-net กุมภาพันธ์ 52 )
     1. ขนนก                                                                                        2. เกล็ดปลา                         
     3. ผนังลำตัวของแมลง                                                                                4. เยื่อหุ้มเซลล์ของพารามีเซียม
14. พิจารณาแผนภาพข้างล่างที่แสดงกลไกการรักษาสมดุลอุณหภูมิในร่างกายมนุษย์
การตอบสนองในข้อใดไม่ถูกต้อง( O-net กุมภาพันธ์ 52 )







     1. ( ก )           และ ( ข )                                                              2. ( ค ) และ ( ฉ )
     3. ( ง )            และ ( ช )                                                              4. ( จ ) และ ( ซ )
15. สัตว์ในข้อใดต่อไปนี้มีอุณหภูมิในร่างกายในสภาวะปกติสูงที่สุด( O-net กุมภาพันธ์ 52 )
     1. อูฐ                                                                                               2. ช้าง                                   
     3. แมว                                                                                            4. นกกระจิบ

                                                               
                                                                2. ระบบภูมิคุ้มกัน
16.  การรณรงค์ให้เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ในระยะหลังคลอด  เนื่องด้วยเหตุผลสำคัญในข้อใด( o-Net กุมภาพันธ์  2549 )
     1.  น้ำนมแม่มีโปรตีนสูง                                            2.  น้ำนมแม่ไม่มีเชื้อโรค
     3.  น้ำนมแม่มี แอนติบอดี                                          4.  น้ำนมแม่มีแอนติเจน
17.  วัคซีนที่ใช้หยอดป้องกันโรคโปลิโอในเด็ก  เป็นสารใด( o-Net กุมภาพันธ์  2549 )
     1.  แอนติบอดี                                                               2.  แอนติเจน
     3.  เอนไซม์                                                                   4.  แอนติไบโอติก
18.  ถ้าตรวจเลือดแล้วพบว่าเม็ดเลือดขาวเพิ่มมากขึ้นผิดปกติแสดงว่าเป็นโรคใด  (o-Net  กุมภาพันธ์  2550 )
     1.  เอดส์                                                                         2.  ติดเชื้อ
     3.  โลหิตจาง                                                                 4.  ธาลัสซีเมีย
19.  เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวนำแบคทีเรียเข้าสู่เซลล์แล้ว       ออร์แกเนลล์ใดทำหน้าที่ย่อยทำลายแบคทีเรียนั้น( O-net มีนา 51 )
     1. โบโซม                                                                       2. ไลโซโซม                       
     3. ไมโทคอนเดรีย                                                        4. กอลจิคอมเพล็กซ์
20. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเฉพาะของไวรัส HIV ( O-net มีนา 51 )
     1. ทำลายเซลล์เม็ดเลือดทุกชนิด                                               
     2. กลายพันธุ์ได้ง่าย
     3. ถ่ายทอดได้ทางเพศสัมพันธ์ หรือรับเลือดจากผู้ติดเชื้อ   
     4. เพิ่มจำนวนโดยใช้วัตถุดิบจากเซลล์ที่ถูกทำลาย
21. ข้อใดเป็นความจริง ( O-net มีนา 51 )
     1. ภูมิคุ้มกันที่ทารกได้จากแม่สามารถคุ้มกันโรคได้ทุกชนิด
     2. วัคซีนป้องกันโรคไทฟอยด์ผลิตจากจุลินทรีย์ที่มีชีวิต
     3. ม้ามเป็นอวัยวะน้ำเหลืองที่มีขนาดใหญ่สุดในร่างกาย
     4. ส่วนประกอบหลักของเซรุ่มคือสารพิษของจุลินทรีย์ที่หมดสภาพความเป็นพิษแล้ว
22. อวัยวะในข้อใดต่อไปนี้ไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบน้ำเหลืองในร่างกายมนุษย์   ( O-net กุมภาพันธ์ 52 )
     1. ม้าม                                                                            2. ทอนซิล                           
     3. ต่อมไทมัส                                                                 4. ต่อมหมวกไต


3. โครงสร้างและการักษาดุลยภาพของพืช
23.  ปรากฏการณ์ใดต่อไปนี้จะเกิดกับเซลล์พืชที่แช่ในสารละลายไฮโพโทนิก( o-Net กุมภาพันธ์  2549 )
     1.  เซลล์เต่ง                                                                   2.  เซลล์แตก
     3.  เซลล์เหี่ยว                                                                                4.  เซลล์เหมือนเดิม
24.  การหลั่งเพปซิโนเจนออกจากเซลล์ผนังกระเพาะอาหารอาศัยกระบวนการใด( o-Net กุมภาพันธ์  2549 )
     1.  การแพร่ของสาร                                                     2.  กระบวนการเอกโซไซโทซิส
     3.  การลำเลียงแบบฟาซิลิเทต                                    4.  การลำเลียงแบบใช้พลังงาน
25.  ต้นมะม่วงตอบสนองต่อภาวะแห้งแล้งเนื่องจากฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลอย่างไร(o-Net  กุมภาพันธ์  2550 )
     1.  ปากใบเปิดกว้างมากขึ้น  เพื่อรับน้ำจากอากาศ
     2.  ปากใบปิดเฉพาะเวลากลางคืน  เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ
     3.  รากใช้พลังงานเพิ่มขึ้น  เพื่อให้สามารถดูดน้ำได้
     4.  ทิ้งใบบางส่วน  เพื่อลดการคายน้ำ
26.  ลอกผิวใบว่านกาบหอยแล้วแช่ลงในสารละลายน้ำตาลกลูโคส  เมื่อนำมาส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์เห็นลักษณะดังภาพ(o-Net  กุมภาพันธ์  2550 )

  
สารละลายน้ำตาลกลูโคสนี้เป็นสารละลายประเภทใดเมื่อเทียบกับสารละลายในเซลล์ผิวใบ( o-Netกุมภาพันธ์  2550 )
      1.    สารละลายไฮโพโทนิค                                      2.  สารละลายไฮเพอร์โทนิค
     3.  สารละลายไอโซโทนิค                                          4. อาจเป็น 2 หรือ 3 ก็ได้
27. เมื่อใส่ปุ๋ยให้ต้นไม้มากเกินไป ต้นไม้ไม่เจริญงอกงามสมความต้องการแต่กลับเหี่ยวเฉาลงเพราะเหตุใด( O-net มีนา 51 )
     1. สารละลายในดินมีแรงดันออสโมติกสูงกว่าในเซลล์ ทำให้น้ำแพร่จากเซลล์ออกสู่ดิน
     2. สารละลายในดินมีแรงดันออสโมติกสูงกว่าในเซลล์ ทำให้น้ำแพร่จากดินเข้าสู่เซลล์
     3. สารละลายในดินมีแรงดันออสโมติกต่ำกว่าในเซลล์ ทำให้น้ำแพร่จากเซลล์ออกสู่ดิน
     4. สารละลายในดินมีแรงดันออสโมติกต่ำกว่าในเซลล์ ทำให้น้ำแพร่จากดินเข้าสู่เซลล์
28. ข้อใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องน้อยที่สุดกับการปรับตัวเพื่อลดการคายน้ำของพืช( O-net กุมภาพันธ์ 52 )
     1. การมีเปลือกแข็งหุ้มลำต้น                                    
     2. การมีใบเข็มของต้นกระบองเพชร
     3. การสังเคราะห์ด้วยแสงในเวลากลางคืน            
    4. การมีปากใบด้านหลัง ( ventral ) ใบของผักตบชวา

                                                                4. หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
29. ข้อความใดถูกต้องเกี่ยวกับการแบ่งเซลล์บริเวณปลายรากหอม ( O-net มีนา 51 )
     1.เป็นการแบ่งเซลล์แบบไมซิส                
     2. เมื่อสิ้นสุดการแบ่งจะได้เซลล์ใหม่ 4 เซลล์
     3. เซลล์ใหม่ที่เกิดขึ้นมีจำนวนโครโมโซมเท่าเดิม   
     4. เซลล์ใหม่ที่เกิดขึ้นเกิดจาการคอดของเยื่อหุ้มเซลล์
30. ไวรัสเพิ่มจำนวนได้ในสภาวะใด ( O-net มีนา 51 )
               ก.ในเซลล์สัตว์                                                                  ข. ในเซลล์พืช       
                ค. ในอาหารสังเคราะห์                                                  ง. ในซากสิ่งมีชีวิต
     1. ก และ ข                                                                    2. ค และ ง          
     3. ก ข และ ค                                                                                4. ก ข ค  และ 



1 ความคิดเห็น:

  1. ฉันไม่เคยคิดว่าจะหายจากโรคเริมอีกเลย ฉันถูกวินิจฉัยว่าเป็นเริมที่อวัยวะเพศตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว จนกระทั่งวันหนึ่งฉันได้ไปค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งฉันเห็นคนให้การว่าหมอโอกาลาช่วยเขารักษาโรคเริมได้อย่างไร ด้วยยาสมุนไพรธรรมชาติของเขา ฉันประหลาดใจมากเมื่อเห็นคำให้การ และต้องติดต่อแพทย์สมุนไพร (โอกาลา) เพื่อขอความช่วยเหลือด้วย เขาส่งยามาให้ฉัน และฉันก็หายเป็นปกติภายใน 2 สัปดาห์หลังจากรับประทานยา ฉันรู้สึกขอบคุณผู้ชายคนนี้มากเมื่อเขาได้ฟื้นฟูสุขภาพของฉันและทำให้ฉันเป็นคนที่มีความสุขอีกครั้ง ใครก็ตามที่อาจประสบปัญหาเดียวกันหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โปรดติดต่อ Dr Ogala ทางอีเมล: ogalasolutiontemple@gmail.com หรือ WhatsApp +2349123794867

    ตอบลบ